Cash is Winner – เงินสดคือผู้ชนะ



Cash is Winner – คนถือเงินสดคือผู้ชนะ
เรื่องง่าย ๆ ที่ผู้คนมองข้าม !!!
เมื่อคุณได้เห็นหัวข้อนี้ คุณอาจจะยังสงสัยว่า
Cash is Winner มันคืออะไรกันนะ

แต่เชื่อเถอะ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ถ้าคุณยังต้องใช้เงินอยู่
บทความนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อคุณเป็นอย่างมาก !!!

เงิน เงิน เงิน
เงิน เงิน เงิน ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

เงินสดคือราชา – Cash is king
เงินสดคือราชา มีความหมายว่า ในการวิเคราะห์ธุรกิจ หรือพอร์ตการลงทุน
กระแสเงินสด มีความสำคัญมาก ในสุขภาพทางการเงินโดยรวมของธุรกิจ!

กำไรสุทธิ สำคัญน้อยกว่า กระแสเงินสด
ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ “ร้อยล้าน”
จะให้น้ำหนักการวิเคราะห์ลักษณะกิจการที่น่าลงทุน
โดยพิจารณา 3 ส่วนหลักๆ คือ

หนึ่ง..กระแสเงินสดของกิจการ บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ใช่กระแสเงินสดจากรายการพิเศษที่รับครั้งเดียว

สอง..อัตราการจ่ายเงินปันผล ต้องสมเหตุสมผล

สาม..คุณภาพสินทรัพย์ “ต้องดี” ส่วนพวกค่า P/E ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี แต่ไม่ได้ยึดติดเท่าไร ส่วนค่า P/BV ไม่ได้ดูเลย

– ลงทุนแบบฉัตรชัย อ่านบทความนี้ คลิ๊ก!

เมื่อเศรษฐกิจแย่ เงินเป็นพระราชา!

เศรษฐกิจแย่ เงินเป็นพระราชา
เศรษฐกิจแย่ เงินเป็นพระราชา ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ต

ยกตัวอย่าง ในโลกของการลงทุนหรือธุรกิจ
หากคุณนำเงินสดไปลงทุนหรือซื้อสินทรัพย์
ไม่ว่าจะเป็น หุ้น ทองคำ หรือสินทรัพย์อื่น ๆ
หากเกิดการ Panic หรือการตกใจ หรือเหตุร้ายขึ้นมา
ทรัพย์สินนั้นอาจจะมูลค่าตกลงมาอย่างน่าใจหาย



เช่น ราคาหุ้นที่ตกลงมา อย่างน่ากลัว
หรือ ราคาบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงมาอย่างน่าใจหาย
เมื่อเกิดวิกฤติ ฟองสบู่ หรือเหตุร้ายแรงอะไรก็ตาม

คุณลองนึกภาพที่ผู้คนต่างตกใจกลัว แล้วเทขายหุ้น
หรือฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ที่แตกดังโป๊ะ!!!
ถ้าคุณถือทรัพย์สินไว้ตอนนั้น ราคามันจะตกลงสักแค่ไหน ???

Cash is Winner – คนถือเงินสดคือผู้ชนะ!
เพราะในตอนนั้น ถ้าคุณมีเงินสดในมือ
คุณจะสามารถซื้อทรัพย์สินต่าง ๆ ได้ในราคาถูกมาก ๆ
และถ้าคุณจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ในตอนนั้น
คุณลองคิดดู ว่ามันจะเป็นเรื่องน่าเสียดายมากแค่ไหน

แม้แต่ในโลกของการดำเนินชีวิตทั่วไป ของคนธรรมดาก็ตาม
ถ้าเราไม่มีเงินสด หากเกิดเหตุการฉุกเฉิน ต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วน
เช่นเกิดอุบัติเหตุ ต่อบุคคล หรือต่อทรัพย์สินก็ตาม เกิดไฟไหม้ เกิดน้ำท่วม
หรือมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นมากอย่างเร่งด่วน
คุณจะทำอย่างไร ถ้าหมดหนทางจริง ๆ คุณอาจจะต้องยอม
ไปกู้เงินนอกระบบ ซึ่งคิดดอกเบี้ยมหาโหด
นั่นคือ เจ้าหนี้เป็นผู้ชนะ
คุณเป็นผู้แพ้และต้องยอมจ่ายดอกเบี้ยในราคาแสนแพง !!!

เงินสดคืออำนาจ!!!
Cash is Winner – คนถือเงินสดคือผู้ชนะ
คุณคงเห็นความสำคัญของเงินสดแล้วใช่ไหม่ครับ
โดยพื้นฐาน อย่างน้อยที่สุด เราควรมีเงินสด ไว้สัก 6 เท่า
ของเงินที่เราจะต้องใช้ในแต่ละเดือนนะครับ
เพื่อจะได้ เป็นเงินสำรองไว้ยามฉุกเฉินที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ครับ

เงินทองเก็บไว้ไม่เน่าไม่บูด
แต่ถ้าคุณใช้จ่ายเงิน โดยไม่รู้จักการเก็บสำรองเงินไว้ในยามฉุกเฉินเลย
ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร โปรดจำไว้ว่า
Cash is Winner – คนถือเงินสดคือผู้ชนะ
และคุณคงไม่อยากเป็นผู้แพ้ใช่ไหมครับ

รู้แบบนี้แล้ว ก็อย่าลืมหาวิธีสำรองเงินไว้ในยามฉุกเฉิน
เผื่อ ๆ กันไว้บ้างนะครับ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญมาก
คุณคงเห็นแล้วนะครับ การสำรองเงินสดไว้เผื่อฉุกเฉิน
มีความสำคัญแค่ไหน !!!

Cash is Winner – คนถือเงินสดคือผู้ชนะ
เรื่องง่าย ๆ ที่ผู้คนมองข้าม บทความโดย Money

One thought on “Cash is Winner – เงินสดคือผู้ชนะ”

  1. คนเราควรมีเงินสำรองเผื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เท่ากับ รายจ่าย 6 เดือน

    คนส่วนใหญ่มีเงินสำรองเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินกันบ้างหรือเปล่า?

    ในการวางแผนทางการเงินของคนเรานั้น เรื่องหนึ่งที่จะละเลยไปเสียไม่ได้เลยก็คือ การวางแผนสำรองเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับเราทุกคนได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบที่พอจะนึกออกได้ อาทิ ตกงาน ถูกเบี้ยวค่าแรง เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยถึงขั้นทำงานไม่ได้ ไปจนถึงเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดฝันและส่งผลกระทบกับรายได้ของเรา อย่างเช่น การประท้วง เหตุจราจลความรุนแรง หรือแม้กระทั่งภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างในปัจจุบัน

    ด้วยเหตุนี้ บุคคลที่บริหารสภาพคล่องตัวเองได้เป็นอย่างดีแล้ว จึงควรเริ่มมองไปที่เป้าหมายลำดับถัดมา นั่นคือ สำรองเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน

    ซึ่งโดยปกติแล้ว คนเราควรมีเงินสำรองเผื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน เท่ากับ รายจ่าย 6 เดือน

    ลองคำนวณดูง่ายๆ เพียงแค่รวบรวมรายจ่ายในงบรายรับ-รายจ่ายของตัวเอง ทั้งส่วนที่เป็นรายจ่ายคงที่ (ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ค่าน้ำ-ไฟ ค่าสาธารูณปโภค ค่าผ่อนชำระเงินกู้ ฯลฯ) และรายจ่ายผันแปร (อาทิ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ฯลฯ) เอามารวมกัน จากนั้นก็คูณด้วย 6 ก็จะได้ปริมาณเงินสำรองเผื่อไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉินแล้ว

    ยกตัวอย่างเช่น นายเอมีค่าใช้จ่ายรวมต่อเดือน 20,000 บาท อย่างนี้นายเอก็ควรมีเงินสำรองไว้เท่ากับ 20,000 x 6 เท่ากับ 120,000 บาท เป็นต้น โดยเงินจำนวน 120,000 บาทนี้ จะต้องค่อยๆ ทยอยเก็บให้ได้เสียก่อนที่จะมีเป้าหมายทางการเงินอื่นๆ และเมื่อเก็บได้แล้ว ก็ห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่นๆ อาทิ เอาไปลงทุน หรือดาวน์รถยนต์ แต่ให้นำมาใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น

    วิธีสะสมเงินสำรองก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพียงแค่หักเงินเก็บ 10% ในแต่ละเดือน ฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ ประจำ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) อะไรก็ได้แล้วแต่ชอบจนครบตามเป้าหมาย เพียงแต่มีเงื่อนไขว่า เงินสำรองดังกล่าวต้องสะสมไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง และผลตอบแทนพอชดเชยเงินเฟ้อได้ ดังนั้น การนำเงินสำรองไปเก็บไว้ในหุ้น หรือทองคำ จึงเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างย่ิง

    ทั้งนี้หากเรามีรายได้อื่นๆ นอกเหนือจากรายได้ประจำ อาทิ ค่าคอมมิชชัน โบนัส ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ ก็อาจนำมาแบ่งสะสมให้เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินของเราถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ก็ย่ิงเป็นการดี

    ถึงตรงนี้ใครหลายคนอาจบ่นว่า กว่าจะเก็บเงินได้ 120,000 บาท อย่างกรณีนายเอ หากรายได้ 30,000 เก็บเดือนละ 3,000 กว่าจะครบเป้าหมาย ก็ต้องใช้เวลานานถึง 40 เดือน (120,000/3,000) โอกาสการลงทุนดีๆ ก็คงวิ่งผ่านไปเสียหมด อันนี้ก็คงต้องบอกตามตรงเลยว่า เงินแค่ 120,000 บาทนำไปลงทุนอะไรก็คงยังไม่ได้เป็นมรรคเป็นผลเท่าใดนักหรอก แต่หากมองในทางตรงกันข้าม แค่เงิน 6 เท่าของรายจ่ายยังออมไม่ได้ เรื่องมั่งคั่งก็คงยังอีกไกลครับ

    สำหรับคนที่มีคู่แล้ว และมีรายได้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย หรือคนที่มีรายได้ประจำจากหลายแหล่ง ก็อาจสำรองเงินไว้แค่ 3 เดือนของค่าใช้จ่ายได้ เพราะถือว่าหากรายได้หายไปจากงานบางงาน หรือจากใครคนใดคนหนึ่ง ก็ยังอาจพอช่วยประคับประคองสถานะการเงินโดยรวมให้ผ่านไปได้

    ส่วนคนที่ยังมีภาระทางการเงินอยู่ อาทิ มีหนี้สินจำนวนมาก กรณีนี้แนะนำให้แก้ไขปัญหาหนี้ให้ผ่านไปก่อนครับ หรือหากอยากที่จะเริ่มต้นจริงๆ (สู้กับอดีตและวางแผนอนาคตไปด้วย) ก็อาจเร่ิมต้้นง่ายๆแบบที่พอไหว สัก 2-3% ก็ถือเป็นความตั้งใจที่ดีครับ

    อีกประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นสำคัญของการวางแผนสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ก็คือ การปรับเพิ่มลดวงเงินสำรอง ตามสภาวะรายจ่ายที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิเช่น ใครวางแผนจะซื้อบ้านหลังแรก ก็อาจต้องมองเรื่องการเพ่ิมเงินผ่อนชำระค่าบ้านให้กับเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินด้วย หรือหากเราตัดค่าใช้จ่ายเคลียร์หนี้บัตรเครดิตไปได้ ก็สมควรที่จะต้องปรับลดเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เพื่อนำเงินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทน

    สรุปทบทวนการวางแผนเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

    – ตรวจสอบรายจ่ายต่อเดือน
    – กำหนดเป้าหมายเงินสำรองที่เหมาะสม โดยพิจารณาแหล่งรายได้ สถานะครอบครัว และแผนการใช้จ่ายในอนาคต
    – วางแผนสะสมเงิน โดยอาจกำหนดให้ตัดเงินจากบัญชีรายได้อัตโนมัติ 10% ไปสะสมไว้ในบัญชีใหม่ ซึ่งอาจเป็นบัญชีออมทรัพย์ ประจำ หรือกองทุนรวมตลาดเงิน อย่างใดอย่างหนึ่งได้ตามเห็นสมควร (ปรึกษาธนาคารเจ้าของบัญชีเงินฝากได้โดยตรง)
    – เก็บสะสมจนถึงเป้าหมายเงินสำรองที่ต้องการ
    – ห้ามนำเงินจากบัญชีดังกล่าวออกมาใช้โดยเด็ดขาด เว้นแต่จะเกิดเหตุฉุกเฉินอันทำให้เสียรายได้ไป หากมีการนำไปใช้ ต้องกลับมาเริ่มต้นออมใหม่

    เรื่องของเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินนั้น เป็นแผนการเงินพื้นฐานที่คนส่วนใหญ่มองข้าม โดยมักให้ความสำคัญกับการลงทุนมากกว่า ทั้งที่เป็นแผนการเงินที่คนทั่วไปควรจะต้องมี กว่าจะรู้ตัวก็เมื่อเกิดเหตุ เกิดปัญหา ไม่มีรายได้เพียงพอใช้จ่ายต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เมื่อนั่นถึงได้รู้ว่า เงินสำรองมีความสำคัญมากเพียงใด

    CR : The Money Coach จักรพงษ์ เมษพันธุ์

Leave a Reply