บัฟเฟต์แตกต่างจากผู้ลงทุนทั่วไป



ตอนที่ 5 อิสรภาพทางการเงิน – บัฟเฟต์แตกต่างจากผู้ลงทุนทั่วไป
เรื่องย่อ บัฟเฟต์แตกต่างจากผู้ลงทุนทั่วไป
เนื่องจากไม่มีใคร สามารถคาดเดาจังหวะการขึ้นลงของหุ้นที่แน่นอนได้
บัฟเฟตต์จึงเลือกที่ซื้อหุ้นในจุดที่ราคายังต่ำ
และกิจการมีโอกาสเติบโตได้มาก
โดยไม่นำพากับสภาวะตลาดผันผวนระหว่างทาง
เพราะเขาเชื่อมั่นว่าหุ้นที่ดี จะมีการเดินทางของราคาที่สูงขึ้นในที่สุด

วอร์เรน บัฟเฟตต์
ภาพจากปกหนังสือ วอร์เรน บัฟเฟตต์

รายละเอียด วอร์เรน บัฟเฟตต์ ผู้สร้างชื่อเสียงเงินทองจากการลงทุน
โดย Settrade.com (ได้ตัดข้อความบางส่วนไปใส่ในตอนลงทุนตอน6ขวบ)
เมื่อประมาณสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสเขียนถึง เบนจามิน เกรแฮม
และทฤษฎีที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาคือ Margin of Safety
ซึ่งในบทความวันนั้นได้มีการกล่าวถึง ผู้ยิ่งใหญ่ในวงการการลงทุนในหุ้น
ที่มีชื่อเสียงระดับโลกอีกท่านหนึ่งนั่นก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ (Warren Buffett)

ผู้ซึ่งเป็นศิษย์เอกของเกรแฮม
และดูเหมือนจะทำได้ดีกว่าผู้เป็นอาจารย์อยู่ขั้นหนึ่ง
ดังนั้นวันนี้ขอใช้พื้นที่ตรงนี้พูดถึงบัฟเฟตต์ และหลักการลงทุนที่ทำให้
ตัวเขาประสบความสำเร็จ ขนาดเป็นมหาเศรษฐีลำดับต้นๆ ของโลก

อารมณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ
ที่ทำให้บัฟเฟต์แตกต่างจากผู้ลงทุนทั่วไป
ที่มักจะไม่ทำตามเป้าหมายการลงทุนที่วางไว้
และบ่อยครั้งที่มักจะเข้าซื้อขายอย่างหุนหันพลันแล่น
เช่นซื้อด้วยแรงกระตุ้น และการรับข่าวสารสั้นๆ
และขายหุ้นด้วยความกลัวอย่างไม่มีเหตุผล

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
ตามกฎการตัดขาดทุน คือ ขายหุ้นที่ขาดทุน และถือหุ้นที่มีกำไร
แต่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่ มักจะทำตรงกันข้ามคือ ขายหุ้นที่กำไร
และถือหุ้นที่ขาดทุนไว้

อาจจะด้วยความกังวลใจ ที่หุ้นที่ถืออยู่และมีกำไร
เริ่มปรับตัวลง จึงตัดสินใจขายหุ้นออกไป
และพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองว่า
ขายทำกำไรดีกว่าปล่อยให้ขาดทุน

และตรงกันข้ามกับ ผู้ลงทุนที่ถือหุ้นและขาดทุนอยู่
จึงได้แต่บอกกับตัวเองว่า
จะขายถ้าราคาหุ้นกลับขึ้นมาถึง ราคาที่เคยซื้อไว้
ซึ่งการลงทุนแบบนี้นั้นมีโอกาสเกิดการขาดทุนสูง

เนื่องจากไม่มีใคร
สามารถคาดเดาจังหวะการขึ้นลงของหุ้นที่แน่นอนได้
ดังนั้นวิธีการหลีกเลี่ยงการซื้อขายผิดจังหวะก็คือ
เดินตามรอยของบัฟเฟตต์ที่จะเลือกซื้อหุ้นในจุดที่ราคายังต่ำ
และกิจการมีโอกาสเติบโตได้มาก
โดยไม่นำพากับสภาวะตลาดผันผวนระหว่างทาง



เพราะเขาเชื่อมั่นว่าหุ้นที่ดี
จะมีการเดินทาง ของราคาที่สูงขึ้นในที่สุด
แนวทางหลักอีกอย่างของบัฟเฟตต์ในการซื้อหุ้นก็คือ
เขาจะมองว่าการซื้อหุ้นคือการเข้าร่วมเป็นเจ้าของบริษัท
ไม่ใช่การซื้อสินค้าที่ต้องซื้อขายเพื่อทำกำไรอยู่ตลอดเวลา

ดังนั้นก่อนจะเข้าลงทุนก็ต้องศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้นๆ
ให้ละเอียด รอบคอบ และเมื่อลงทุนแล้วต้องเชื่อมั่นในบริษัท

ซึ่งแนวคิดนี้นั้นคล้ายกับ Value Investor
มือทองของเมืองไทยท่านหนึ่ง คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี
และไม่ซื้อขายบ่อย ๆ และท่านก็มองว่านี่คือการทำธุรกิจส่วนตัว
ที่ไม่ต้องดำเนินธุรกรรมเองทั้งหมด

เพียงแต่คัดสรรกิจการที่ดีและร่วมเป็นเจ้าของ
โดยเงินปันผลก็เหมือนเงินเดือนที่นำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้
โดยไม่ต้องซื้อขายหุ้นเพื่อนำกำไรมาใช้ในระยะสั้น
แต่ต้องมีวินัยในการลงทุนนั่นคือเก็บหุ้นไว้ให้มีมูลค่า
เติบโตทบต้นทบดอกด้วยตัวมันเอง และไม่หวั่นไหวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ

ส่วนหลักการลงทุนของบัฟเฟตต์
ที่ใช้เป็นประจำในการเลือกซื้อหุ้นแต่ละตัวได้แก่

1. เป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน

2. เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยม และมีฐานลูกค้าแข็งแกร่ง

3. หรือเป็นธุรกิจที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว
ยกตัวอย่างหุ้นที่เขาถืออยู่ อาทิ โค้ก และอเมซอน

4. สามารถคาดเดารายได้ และรายจ่ายได้ไม่ยาก
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน
ดังนั้นเขาจะสามารถคาดเดาได้อย่างไม่ยากว่าจะมีกำไร
หรือขาดทุนในแต่ละปี

5. ผลตอบแทนต่อทุน (ROE) สูง บัฟเฟตต์
ให้ความสำคัญกับตัวเลขนี้ค่อนข้างมาก
คือน่าจะต้องมากกว่า 12% สำหรับธุรกิจประเภทผลิตสินค้า
แต่หากเป็นธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว ค่าตัวเลขนี้ปกติจะสูงมาก บัฟเฟตต์
จึงแนะนำให้ดูที่ตัวเลขของผลตอบแทนรวมของสินทรัพย์ (ROA)
ประกอบด้วยหากสูงกว่า 10% ก็ถือว่าดี

6. มีกระแสเงินสดที่ดี เพราะธุรกิจที่ดี ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินทุนสูงมาก
ในการดำเนินงานและรักษาสถานภาพในตลาดเพื่อการแข่งขัน
เพราะควรจะมีรายได้หล่อเลี้ยงอย่างสม่ำเสมอ

7. มีผู้บริหารที่ดี เห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ

8. ลงทุนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะไม่เพียงเลือกธุรกิจที่ดี
แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่ดีและราคาเหมาะสมด้วย

และนี่ก็คือข้อมูลอย่างย่อๆ
ที่เป็นหลักการของผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว
ซึ่งถ้าผู้อ่านสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่ม
เติมสามารถดูได้ที่ www.buffetsecrets.com หรือหาซื้อหนังสือด้านการลงทุน
ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หรือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ได้ที่ร้านหนังสือ Settrade.com ด้านหน้าอาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ
อิสรภาพทางการเงิน โดย money.matethai.com

$$$ ลิ้งที่เกี่ยวข้อง $$$
อิสรภาพทางการเงิน ตอนที่ 0 -12