ตอนวิถีแห่งความร่ำรวย



ตอนที่ 9 อิสรภาพทางการเงิน – ตอนวิถีแห่งความร่ำรวย
เรื่องย่อ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ในวัยเพียง 25 ปี
ได้ก่อตั้ง “buffett Partnership”
ด้วยทุนประเดิม 105,000 ดอลลาร์
เมื่อประมาณปี 2508 เขาทำให้หุ้นราคา 13 ดอลลาร์
ทะยานขึ้นไปซื้อขายกันที่ 90,500 ดอลลาร์/หุ้น
บทเรียนที่ทำให้ บัฟเฟตต์
เดินทางไปสู่วิถีแห่งความ “ร่ำรวย” ก็คือ
ทฤษฎี Margin Of Safety ของ “เบนจามิน เกรแฮม”

ตอนวิถีแห่งความร่ำรวย
ตอนวิถีแห่งความร่ำรวย ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

รายละเอียด เขาคือ..”ลีโอนาโด ดาวินชี” กลับชาติมาเกิด
จาก www.bangkokbizweek.com
ในแง่สินทรัพย์ “วอร์เร็น บัฟเฟตต์” เทพเจ้าแห่งโอมาฮา คือ
มหาเศรษฐีเบอร์ 2 ของโลก รองจาก “บิล เกตส์”
ที่ “รวย” ขึ้นมา ด้วย (หุ้น) “ไมโครซอฟท์”

แต่หากนับฝีมือในด้านการลงทุนในตลาดทุนแล้ว..ทั่วโลกต่างยกย่องให้
“บัฟเฟตต์” เป็น “มือวางอันดับหนึ่ง” ชีวิตมหัศจรรย์ของเขาเริ่มต้น
ในวัยเพียง 25 ปี โดยก่อตั้ง “buffett Partnership”
ด้วยทุนประเดิม 105,000 ดอลลาร์ จากหุ้นส่วน 7 คน

และตั้งเป้าหินสำหรับตัวเองว่าจะเอาชนะดัชนีดาวโจนส์ให้ได้ปีละ 10%
แต่เขาทำได้ถึง 22% ภายใต้พันธสัญญาที่ว่า
“เราจะเลือกลงทุนบนพื้นฐานของมูลค่าไม่ใช่ความนิยม”

บัฟเฟตต์ เข้าซื้อกิจการสิ่งทอเล็กๆ ชื่อว่า “เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์”
เมื่อประมาณปี 2508 เขาทำให้หุ้นราคา 13 ดอลลาร์
ทะยานขึ้นไปซื้อขายกันที่ 90,500 ดอลลาร์/หุ้น

ในปัจจุบัน ด้วยมาร์เก็ตแคปขนาด 139,370 ล้านดอลลาร์
ถ้าเปรียบเทียบ มูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้น ระหว่าง “เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์”
และ “ดัชนีเอสแอนด์พี 500” ระหว่างปี 2508-2547
จะพบว่า เบิร์กไชร์ มีมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นมากถึง 286,865%
ขณะที่ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ทำได้แค่ 5,318%

โรเบิร์ต พี.ไมเลส เจ้าของงานเขียน
The Genius of Warren Buffet:
The Science of Investing and The Art of Managing
มาบรรยายที่ โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน ยกย่องให้ “บัฟเฟตต์”
เป็น..อัจฉริยะ ที่มีความสามารถทั้งทางด้าน “วิทยาศาสตร์” และ “ศิลปะ”
เฉกเช่น “ลีโอนาโด ดาวินชี”

กล่าวคือ บัฟเฟตต์ ใช้ศาสตร์ความรู้ด้าน “วิทยาศาตร์” เพื่อการ “ลงทุน”
และ เขายังเป็น “ศิลปิน” ที่รู้จักการใช้ ศิลปะ
ใน “การบริหารจัดการ” อย่างยอดเยี่ยม
สังเกตได้จาก ที่ผ่านมา “บัฟเฟตต์” ไม่เคยเสีย
“ซีอีโอ” ของ “กองทุน” ไปให้กับคู่แข่งสักครั้ง

“ความสามารถในเชิงคณิตศาสตร์…
ความสามารถการสื่อสาร..สัมพันธ์ระหว่างธุรกิจ
และนักการเมือง..ทักษะในการเข้าใจในสิ่งต่างๆ
คือ สิ่งที่ทำให้บัฟเฟต์ ประสบความสำเร็จ”
ไมเลส กล่าว วอร์เร็น บัฟเฟตต์
ไม่เคยลงทุนในธุรกิจที่เขาไม่สามารถเข้าใจได้
หรือธุรกิจที่อยู่นอกเหนือ “วงจรความสามารถ” ของเขา..



บทเรียนที่ทำให้ บัฟเฟตต์
เดินทางลัดไปสู่วิถีแห่งความ “ร่ำรวย” ก็คือ
ทฤษฎี Margin Of Safety ของ “เบนจามิน เกรแฮม”
เกรแฮม สอน บัฟเฟตต์ ว่า ถ้าเราสามารถ
ป้องกันตนเองจากความแปรปรวนของอารมณ์ตลาดหุ้น
ก็จะมีโอกาสฉกฉวยผลประโยชน์จากพฤติกรรมที่ไร้เหตุผลของนักลงทุน
เพราะฉะนั้นอย่าถูกทำให้ไขว้เขว..เพราะคนอื่นไม่เห็นด้วยกับคุณ

เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ เก็บเงินสดจำนวนมหาศาล
สำหรับการลงทุนในแต่ละปี โดยกิจการแห่งนี้
ไม่ได้จ่ายเงินปันผลมาตั้งแต่ปี 2510 โรเบิร์ต พี.ไมเลส สรุปว่า หุ้นที่ บัฟเฟตต์ สนใจมาก
มักจะเป็นธุรกิจดั้งเดิม ที่มีความมั่นคง อายุยาวนาน และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

5 หุ้นในพอร์ต เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ที่มีมูลค่ามากที่สุด
ได้แก่ หุ้นหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์,
หุ้นโคคา-โคลา, หุ้นบัตรเครดิต-อเมริกัน เอ็กซ์เพรส, หุ้นยิลเลตต์
และ หุ้นสถาบันการเงิน “เวลส์ ฟาร์โก”
ขณะเม็ดเงินอีกส่วนหนึ่งก็กระจายความเสี่ยงไปสุ่ธุรกิจอื่น อาทิ หุ้น GEICO
(บริษัทประกันภัยลูกจ้างของรัฐบาล)
ธุรกิจที่ดำเนินการในด้านโลจิสติกส์ หุ้น GREIF BROTHER
ธุรกิจค้าปลีก หุ้น TIRELY CLOTHES ธุรกิจบันเทิงในหุ้น BALDWIN
ตลอดจนหุ้นในหมวดอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักรปั๊มน้ำ THOR CORP ด้วย

สำหรับ “บัฟเฟตต์” นิยามความเสี่ยงนั้น คือ
ความไม่รู้ หรือ ไม่เข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่
ดังนั้นในการเลือกหุ้น เขาจะต้องรู้จักหุ้นนั้นอย่างถ่องแท้
และจะมีกิจวัตรประจำวันที่ฝึกฝน
“ความรู้” ให้ยิ่งแกร่ง ไมเลส บอกว่า ทุกวัน
บัฟเฟตต์ จะแบ่งเวลาสำหรับการ..ออกกำลังกาย
เพื่อเติมพลังให้กับชีวิต เวลาที่เหลือ จะใช้ไปในการอ่านหนังสือหลากหลายแนว
และเล่นไพ่บริจด์ เป็นงานอดิเรก
ซึ่งล้วนแต่เป็นการพัฒนาฝึกฝนไอเดียให้แหลมคมอยู่เสมอ

ไม่เพียงเท่านี้ บัฟเฟตต์ จะให้ความสำคัญกับ
“คาแรคเตอร์” ส่วนตัว และ “ชื่อเสียง” ที่ผู้คนยกย่อง
เขาตระหนักดีกว่า ชื่อเสียงที่สั่งสมมาเกือบ 20 ปี
พร้อมที่จะจบลงเพียงแค่ 5 นาที..หากไม่รักษา
และนี่ก็ทำให้ การไปลงทุนทุกครั้งของ เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์
จะมีบรรดากลุ่มผู้เชื่อถือเข้าไปร่วมลงทุนอยู่เสมอ
อาทิ หุ้นปิโตร-ไชน่า ที่ เบิร์กไชร์
เพิ่งเข้าไปลงทุนเมื่อปลายปี 2547 ด้วยจำนวนเงิน 458 ล้านดอลลาร์
เพียงไม่ถึงปี มูลค่าหุ้นได้เพิ่มขึ้นเป็น 1,300 ล้านดอลลาร์

“บัฟเฟตต์ ยอมจ่ายเงินมากๆ เพื่อการบริหาร
แต่เขาจะไม่ยอมเสียชื่อเสียงเด็ดขาด
และนี่คือสิ่งสำคัญที่ทำให้กองทุนเบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์
ขนาดเกือบ 80,000 ล้านดอลลาร์ ยืนหยัดอยู่ได้ ณ วันนี้”

เทพเจ้าแห่งโอมาฮา ในวัย 75 ปี เชื่อว่า
หากเขาเสียชีวิตลง มูลค่ากองทุนอาจจะลดลงถึง 25%
เท่ากับชื่อเสียงที่เขาสั่งสมมา..ภารกิจหนักจะไปตกกับ
“ฮาร์เวิร์ด” ลูกชาย ภายใต้สายตา
และแรงกดดัน..จากคนทั้งโลก

อิสรภาพทางการเงินโดย money.matethai.com

$$$ ลิ้งที่เกี่ยวข้อง $$$
อิสรภาพทางการเงิน ตอนที่ 0 -12