ลงทุนแบบฉัตรชัย – ลงทุนตามเซียน



ตอนที่ 12 ลงทุนแบบฉัตรชัย –
ลงทุนตามเซียน

ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ “เน้นคุณค่าทั้งการลงทุนและการใช้ชีวิต”
ฉัตรชัย เป็นนักลงทุนแบบวีไอ อีกคนหนึ่ง
ที่เลือกจะเกษียณตัวเองจากงานประจำ
และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยผลตอบแทน
จากการลงทุนจากแนวทางวีไอ
จากหุ้นเพียงตัวเดียว ด้วยวัยเพียง 38 ปี

ลงทุนแบบฉัตรชัย
ลงทุนแบบฉัตรชัย ภาพประกอบจาก อินเทอร์เน็ต

เขาเล่าว่า เขาเริ่มต้นด้วยเงินทุนไม่สูงนัก
แต่นั่นก็เป็นเงินเก็บก้อนแรกของเขา
และไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก
“ผมเล่นหุ้นมาตั้งแต่สมัยยังเคาะกระดาน ก็เล่นตามข่าวบ้าง
ดูกราฟบ้างเล็กๆน้อยๆ ฟังบทวิเคาะห์บ้าง
แม้จะไม่ได้ขาดทุนมากนัก แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ”

แล้วเขาก็มาค้นพบเส้นทางเดินช่วงที่เรียน MBA
และทำงานดานการเงิน ทำให้เรียนรู้ด้านการเงิน บัญชี เศรษฐกิจ
ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งเขาบอกว่า
นั่นเป็นโขคดีของเขา
เพราะทำให้เห็นว่าประเทศอาจจะต้องลดค่าเงินในไม่ช้า
เขาตัดสินใจ “ล้างพอร์ต”เลิกเล่นหุ้น
แล้วเหตุการณ์ที่เขาคาดมันก็เกิดขึ้นจริง



เขากลับมาในตลาดหลักทรัพย์อีกครั้งในปี 2542
ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดอยู่ในจุดต่ำสุด
“เห็นแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ค่าเงินบาทนิ่ง
และการแก้ไขปัญหาสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ที่คืบหน้าไปมาก เลยเข้าหาซื้อ ซึ่งบังเอิญถูกตัว”

ในตอนนั้นจะดูภาพรวมของประเทศเป็นหลัก
ประกอบกับดูว่า บริษัทที่ไม่มีหนี้ ในขณะนั้น
ก็น่าจะเป็นบริษัทที่แข็งแกร่ง
จากนั้นภาวะเศรษฐกิจก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น
ในระหว่างนั้นเริ่มศึกษามากขึ้น
และปรับปรุงจุดอ่อนของตัวเองเรื่อยมา
จนกระทั่งมาอยู่ในแนวทางของวีไอ

การลงทุนแบบวีไอ ให้เวลากับเรา
ไม่ต้องเฝ้า กลางคืนนอนหลับ
เมื่อก่อนนอนไม่ได้ กลางคืนต้องมานั่งดูดัชนีดาวน์โจน ดูข่าว
แต่ตอนนี้ก็สนใจแต่กิจการของเรา”

และไม่ใช่แค่รูปแบบการลงทุนเท่านั้น
ที่เป็นแบบเน้นคุณค่า
แต่การใช้ชีวิตก็จะเน้นคุณค่าไปด้วย โดยใช้ชีวิตพอเพียง
รู้คุณค่าการใช้เงิน
ซึ่งจะตรงข้ามกับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นแล้วหวังว่าจะรวย

คนที่เป็น value investor จริงๆ จัง
จะศึกษาธรรมะ
เพราะชีวิตจะไม่ตื่นเต้น จิตใจจะสงบ
และถ้าไม่มีธรรมะมายึดเหนี่ยวไว้
ก็จะอยู่ในแนวนี้ไม่ได้ เพราะ วีไอ
จะเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นอันดับหนึ่ง
ถ้าหลงติดบ่วงกิเลศ ถูกยั่วยวนจากราคาหุ้นก็เป็นไม่ได้”
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
ที่มา thaivi.com
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
$$$ การลงทุน เศรษฐกิจ หุ้น และอิสรภาพทางการเงิน | Money $$$
$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

4 thoughts on “ลงทุนแบบฉัตรชัย – ลงทุนตามเซียน”

  1. $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    Post subject: ช่วยแนะนำหุ้นน่าลงทุนหน่อยครับ
    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    ผมชอบหุ้นที่มี Free Cash Flow มากๆเทียบกับราคาหุ้น
    และไม่มีภาระในการลงทุนมากนัก
    รวมถึงมีหนี้เงินกู้ยืมน้อยๆด้วยครับ
    งบการเงินอ่านง่าย ไม่มีรายการระหว่างกันมากนัก
    เพื่อนๆมีหุ้นที่มีลักษณะนี้แนะนำบ้างไหมครับ
    ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ
    ———————————————————–

    *** บทความดีๆ มีไว้แบ่งปัน โดย Money

    ‘ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ’ วิเคราะห์หุ้น ‘รวย’! จากงบการเงิน
    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ‘ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ’ นักถอดงบการเงิน ‘ผู้ปราดเปรื่อง’
    อยากเล่นหุ้นได้กำไรต้องอ่านงบการเงินให้ ‘ขาดกระจุย’ ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้น VI เจ้าของพอร์ต ‘เลข 9หลัก’

    ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ วัย 44 ปี เป็นที่ร่ำลือว่ามีความสามารถในการ “ถอดงบการเงิน” เป็นเลิศ เขามีข้อได้เปรียบตรงที่ว่าเคยผ่านงานธนาคารต้องวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าว่ามีกำลังผ่อนชำระคืนแบงก์ได้หรือไม่ เขานำประสบการณ์ตรงนั้นบวกกับความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์งบการเงินของบริษัทในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้า ความสามารถนี้เองที่ทำให้เขาสร้างผลตอบแทนในตลาดหุ้นได้อย่างงดงาม

    เขาเล่าว่า หลังจากค้นพบแนวทางของตัวเอง การเล่นหุ้นก็เริ่มได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ในอดีตเคยมีประสบการณ์ “ถือหุ้นตัวเดียว” นานถึง 8 ปี คือ หุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) โดยใช้ซื้อภรรยา (มยุรี วงแก้วเจริญ) ซื้อตอนปี 2544 เหตุผลที่ชอบหุ้นตัวนี้ เพราะมีกระแสเงินสดดี ซื้อหุ้น WG มาในราคา 13-14 บาท ขายไปตอนราคา 60 บาท (ปัจจุบันราคา 81-82 บาท) เพื่อไปซื้อหุ้นตัวอื่นที่คิดว่าดีกว่า เฉพาะเงินปันผลอย่างเดียวก็ “คืนทุน” หมดแล้ว ปีแรกๆ ซื้อราคา 13 บาท ปันผล 1 บาท ซึ่งปันผลของบริษัทปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกปี จนปีหลังๆ จ่ายปันผลสูงถึงหุ้นละ 4 บาท

    นอกจากกระแสเงินสดดีแล้วหุ้นตัวนี้ผลประกอบการเติบโตสม่ำเสมอ เนื่องจากไว้ท์กรุ๊ปมีสูตรเคมีภัณฑ์เฉพาะเป็นของตัวเอง ลูกค้าอยากได้แบบไหนบริษัททำได้หมด ทำให้มีความสามารถในการแข่งขันดีมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่สำคัญสมัยก่อนบริษัทนี้ ยังมีธุรกิจอื่นเสริมโดยเฉพาะธุรกิจโกดังให้ลูกค้าเช่าเป็นคลังสินค้า และมีสำนักงานให้เช่าแถวเอกมัย ทำให้เขามีกระแสเงินสด และมีมาร์จิ้นที่ดีขึ้น เพราะตึกมันลงทุนไปแล้วสามารถรับรู้รายได้ค่าเช่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจทั้งหมดทำให้ไว้ท์กรุ๊ป มีกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ช่วงที่เก็บหุ้น WG บริษัทนี้ยังไม่มีใครรู้จัก

    ความแตกต่างจากเซียนหุ้นทั่วไป ฉัตรชัยจะทุ่มเงินลงทุนทั้งหมดในหุ้นที่เขามั่นใจเพียงไม่กี่ตัว เรียกว่า “จัดเต็ม” แบบไม่กลัวเสี่ยง..ถ้าเขามั่นใจ ปัจจุบันเขาถือหุ้นเพียงแค่ 2 ตัว โดยหุ้นตัวแรกถือ 90% ของพอร์ต อีกตัวถือ 10% ของพอร์ต

    “ผมลงทุนไม่เหมือนคนอื่นเป็นคนซื้อหุ้นยากมาก ในรอบ 10 กว่าปีมานี้ถือหุ้นไม่กี่ตัว คนอื่นเขาเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแต่ผมจะถือหุ้นไปจนกว่าจะถึงเกณฑ์ที่ตั้งเอาไว้ ในอดีตเคยถือหุ้นมากที่สุดแค่ 4 หุ้น ผมมันพวก “สเปกเยอะ” ถ้ามั่นใจตัวไหนผม “จัดเต็ม” อย่างตอนนี้มีหุ้นอยู่ในมือแค่ 2 ตัว ใครเป็นมาร์เก็ตติ้งผมไม่ค่อยได้ค่าคอมมิชชั่นเท่าไร”

    แม้ฉัตรชัยจะไม่ยอมเปิดเผยรายชื่อหุ้นที่ซื้อ แต่จากการตรวจสอบของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบชื่อ มยุรี วงแก้วเจริญ ภรรยาของ ฉัตรชัย ถือหุ้น ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) 6,801,000 หุ้น สัดส่วน 2.52% และหุ้น แมนดารินโฮเต็ล (MANRIN) จำนวน 500,000 หุ้น สัดส่วน 1.86% ปัจจุบันมีมูลค่ารวมประมาณ 130 ล้านบาท

    ทำไม! ถึงซื้อหุ้น 2 ตัวนี้ เซียนหุ้นร้อยล้าน บอกเพียงว่า ตัวที่โฟกัส 90% ของพอร์ตอยู่กลุ่ม Commerce บริษัทไม่มีคู่แข่ง ทำธุรกิจสบายๆ ผู้บริหารเก่ง (บุญยง ตันสกุล) ถือหุ้นตัวนี้มานาน 2-3 ปีแล้ว ตอนนี้เขาโตเร็วมาก และยังมีช่องจะเติบโตเพื่อกินมาร์เก็ตแชร์เจ้าอื่นด้วย สมัยก่อนบริษัทนี้เคยผิดพลาดทำให้เขาล้ม ตอนนี้กำลังจะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง จากการวิเคราะห์งบการเงินในช่วง 3 ปีข้างหน้า มั่นใจว่าบริษัทนี้จะขยายตัวสม่ำเสมอทุกปี

    ส่วนหุ้นอีกตัวที่โฟกัส 10% อยู่ในกลุ่มโรงแรม ถือหุ้นมาแล้ว 2 ปี หุ้นตัวนี้ไม่ได้เข้าข่ายกลยุทธ์ไม่มีคู่แข่ง หรืองบการเงินดีเท่าไร จริงๆ ไม่ค่อยอยากจะพูดเท่าไร ตอนที่ซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะเห็นว่าบริษัทสามารถต่อสัญญาเช่าที่ดินแถวสามย่าน ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงแรมกับเจ้าของที่ดินได้ เห็นว่าทำเลค่อนข้างดีก็เลยซื้อหุ้นเก็บไว้ ช่วงนั้นคิดว่าจะถือไว้สัก 3 ปี น่าจะได้กำไร ปัจจุบันบริษัทนี้มีโรงแรมในกรุงเทพ 1 แห่ง และที่เขาใหญ่ 1 แห่ง

    “ผมเชื่อว่าหุ้น 2 ตัวนี้ (SINGER, MANRIN) จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในอนาคต แม้วันนี้หุ้นตัวหนึ่งจะปันผลน้อยเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ เขาต้องนำเงินไปลงทุนขยายกิจการหลังจากเพิ่งฟื้นตัว ส่วนอีกตัววันนี้ยังไม่มีเงินปันผล แต่ระยะยาวน่าจะดี..ผมอดทนรอได้”

    เซียนหุ้นวีไอวัย 44 ปี กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตอนนี้ อยู่ตรงที่ส่วนใหญ่ “แพงมาก” แล้ว ซึ่งตนเองชอบซื้อหุ้นตอนราคาต่ำกว่าพื้นฐาน 50% ปัจจุบันหาได้ยาก หุ้นค้าปลีก หุ้นโรงพยาบาล ไม่สนใจแม้ธุรกิจจะดีแต่ราคาก็แพง ถ้าวันหนึ่งราคาลงมาอาจจะซื้อ การลงทุนแบบวีไอสำคัญที่ต้องประเมินมูลค่าหุ้นให้เป็น ก็เหมือนการซื้อรถยนต์ ถึงรถจะดีแต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็ไม่ซื้อ “ของดี” อาจไม่ใช่ของที่ “ดีที่สุด” ก็ได้

    ส่วนพวกหุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ เขายอมรับว่า “ไม่ชำนาญ” วงจรธุรกิจสวิงมากเหมาะกับการ “เก็งกำไร” มากกว่าโอกาสพลาดมีสูง ส่วนหุ้น IPO ไม่ชอบเลย ฐานข้อมูลต่างๆ ยังน้อย ชอบหุ้นที่เห็นกันมานาน 5-10 ปีดีกว่า ปัจจุบันฉัตรชัย จะลงทุนผ่าน บล.เคที ซีมิโก้ และ บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เขาชอบแชร์ข้อมูลดีๆ ผ่านเว็บไซต์และชวนกันไปฟังข้อมูลจากผู้บริหาร

    ถามว่าการลงทุนตั้งเป้าหมายไว้อย่างไร..? เขากล่าวว่า บอกตรงๆ ไม่เคยคิดเลย ตอนเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกมีคนเคยบอกว่า คนเล่นหุ้น 10 คน เจ๊ง 8 คน เสมอ 1 คน ได้กำไร 1 คน ส่วนตัวขอเป็น 2 ใน 10 คนที่ไม่เจ๊งก็พอ ทุกวันนี้ยึดอาชีพนักลงทุนอย่างเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีลูกสาว 2 คน หลายคนอยากออกมาทำธุรกิจเล็กๆ ของตัวเอง การลงทุนในหุ้นก็เป็นเจ้าของกิจการได้เหมือนกัน แถมมีข้อดีมากกว่าด้วยเพราะถ้ากิจการไม่ดีเราสามารถขายหุ้นไปลงทุนกิจการใหม่ได้

    ฉัตรชัย บอกว่า รู้สึกตะขิดตะขวงใจทุกครั้งเวลาฟังรายการวิทยุมีนักลงทุนโทรไปถามนักวิเคราะห์ว่าติดหุ้นตัวนี้ควรซื้อหรือขายดี นักวิเคราะห์ก็จะถามกลับว่าต้นทุนเท่าไร อยากถามว่าต้นทุนมันเกี่ยวอะไรกัน เราซื้อหุ้นต้องดูที่อนาคตไม่ใช่ต้นทุน สมมติติดหุ้นราคา 20 บาท ราคาตลาด 15 บาท แต่หุ้นมีโอกาสวิ่งไป 30 บาท ฉะนั้นคำแนะนำแบบนั้นมันใช้ได้มั้ย!

    เขาบอกว่า เท่าที่สัมผัสนักลงทุนส่วนมากชอบ “สูตรสำเร็จ” การลงทุนไม่มีสูตรสำเร็จ และสูตรสำเร็จของแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ก็ไม่เหมือนกัน อยากจะเล่าให้ฟังสมัยก่อนตอนเกิดวิกฤติแบล็คมันเดย์ คนที่ทน “ถือหุ้น” หรือ “ซื้อเพิ่ม” เขาได้กำไรกันถ้วนหน้า เพราะหุ้นตกไม่นานก็ขึ้น พอมาวิกฤติปี 2540 คนก็ยังคิดว่าตลาดหุ้นจะเป็นแบบนั้นอีก ก็พากันแห่ไปไล่ซื้อ สุดท้ายหุ้นตกจาก 1,700 จุด ตกเหลือ 200 จุด

    “สุดท้ายเจ๊งกันหมด บางบริษัทปิดตัวไปเลย ฉะนั้นคุณต้องรู้จักประเมินมูลค่าธุรกิจ และวิเคราะห์สถานการณ์ให้ออก การลงทุนมันไม่สูตรสำเร็จว่าถ้าเกิดวิกฤตแล้วต้องซื้อหุ้นเท่านั้น ขายเท่านี้..มันไม่มี”

    เซียนหุ้นวีไอร้อยล้าน กล่าวปิดท้ายว่า กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นให้ซื้อหุ้นตอนวิกฤติ เพราะจะได้ของถูก คนพูดแบบนี้แปลว่าประสบการณ์เขายังน้อยคงยังไม่เคยโดนวิกฤติตอนปี 2540 (หัวเราะ) ถ้าผ่านมาแล้วจะไม่พูดแบบนี้ ส่วนตัวไม่เคยขายหุ้นตอนวิกฤติ หากมั่นใจหุ้นตัวนั้นพื้นฐานดีจริงๆ วันหนึ่งมันต้องกลับมา

    ‘กำไรสุทธิ’ สำคัญน้อยกว่า ‘กระแสเงินสด’ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ เซียนหุ้นวีไอ “ร้อยล้าน” จะให้น้ำหนักการวิเคราะห์ลักษณะกิจการที่น่าลงทุนโดยพิจารณา 3 ส่วนหลักๆ คือ หนึ่ง..กระแสเงินสดของกิจการ บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานปกติเติบโตสม่ำเสมอ ไม่ใช่กระแสเงินสดจากรายการพิเศษที่รับครั้งเดียว สอง..อัตราการจ่ายเงินปันผล ต้องสมเหตุสมผล สาม..คุณภาพสินทรัพย์ “ต้องดี” ส่วนพวกค่า P/E ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี แต่ไม่ได้ยึดติดเท่าไร ส่วนค่า P/BV ไม่ได้ดูเลย

    สำหรับวิธีการดูงบการเงินอย่างย่อ ขั้นตอนแรก..เราจะต้องอ่าน “งบดุล” ของบริษัทนั้นก่อน ในงบดุลจะแสดง “สินทรัพย์” และ “หนี้สิน” สิ่งที่จะต้องไล่ดูคือ บริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร สินทรัพย์สำคัญของบริษัทนั้นคืออะไรและมันสอดคล้องกับการทำธุรกิจนั้นหรือไม่ ยกตัวอย่าง บางบริษัทมีเงินลงทุนในพอร์ตหุ้นจำนวนมากถ้าเป็นแบบนั้นคงไม่ใช่หุ้นที่ดี เราต้องมองโครงสร้างธุรกิจให้ขาด

    จากนั้นก็ดู “คุณภาพสินทรัพย์แต่ละรายการ” ว่ามีมูลค่าตามที่บันทึกในบัญชีหรือไม่ เพราะบางครั้งมีการแต่งตัวเลขได้ ให้ดูลูกหนี้การค้า “ผิดนัดชำระ” เยอะมั้ย! แล้วมีการ “ตั้งสำรอง” เพียงพอหรือไม่ จากนั้นก็มาดูว่าบริษัทดังกล่าวมีหนี้สินเทียบกับทุนจดทะเบียนเยอะขนาดไหน เมื่อตรวจสอบครบแล้วเราก็เอางบดุล 3 ปี มาเปรียบเทียบกันจะทำให้เรารู้ว่าที่ผ่านมางบการเงินของเขาเป็นอย่างไร

    ขั้นตอนต่อไปให้ดู “งบกำไรขาดทุน” ให้เน้นที่ “กำไรขั้นต้น” บริษัทที่ดีควรมีกำไรขั้นต้นอยู่ในระดับสูงทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอีก 3 ปีข้างหน้า จากนั้นจะดูว่าบริษัทมี “อัตรากำไรสุทธิ” เท่าไร ถ้าตัวเลขอยู่สูงๆ จะดีมาก เพราะจะบ่งบอกได้ว่า บริษัทมีความสามารถในการแข่งขันค่อนข้างดี ไม่ใช่มาร์จิ้นบางเฉียบแค่ 1% หรือครึ่งเปอร์เซ็นต์ แบบนี้ไม่เอาปล่อยผ่านไป

    “ผมชอบบริษัทที่มีกำไรขั้นต้นประมาณ 20% มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยปีละ 15% ที่สำคัญบริษัทนั้นต้องมีต้นทุนขายลดลงหรือเสมอตัว ไม่เพิ่มเติมไปกว่าเดิม หากจะมีต้องมีเหตุผลที่สนับสนุนและต้องไม่ผันผวน”

    ฉัตรชัย บอกว่า ส่วนตัวไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ “กำไรสุทธิ” มากเท่าไร เคยมีคำพูดประโยคหนึ่ง “Profit is opinion cash is real” กำไรเป็นเพียงความคิดเห็น กระแสเงินสดคือของจริง เพราะในงบกำไรขาดทุนบางอย่างมันขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ทางบัญชี โดยเฉพาะการกำหนดระยะเวลาการตัดค่าเสื่อมราคา ซึ่งมันสามารถทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ทั้งๆ ที่เราค้าขายเหมือนเดิม

    เขาเล่าต่อว่า ขั้นตอนสุดท้าย จะดู “งบกระแสเงินสด” เพราะมันจะบ่งบอกถึง “วงจรธุรกิจ” บางบริษัทมีกำไรดีแต่ไม่มีเงินให้ผู้ถือหุ้นเลย ได้เงินมาเท่าไรต้องนำไปซื้อเครื่องจักรรุ่นใหม่ หรือลงทุนตลอดเวลา บริษัทที่ดีต้องมีกระแสเงินสดเติบโตทุกปีเฉลี่ย 10-15% กระแสเงินสดจะบอกอะไรได้เยอะมาก เพราะจะทำให้เรารู้ว่าเงินเข้ามาจากการขายของ หรือไปกู้แบงก์หรือได้มากจากรายการพิเศษ

    งบกระแสเงินสด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. จากการดำเนินงาน เงินรับเข้าและจ่ายออก 2. การลงทุน เช่น ซื้อเครื่องจักร ขายที่ดิน ขายเครื่องจักร ฯลฯ 3. กิจกรรมการจัดหาเงิน เช่น เพิ่มทุน กู้ยืมเงิน จ่ายเงินกู้ ซึ่งเงินสดจากการดำเนินงานสำคัญที่สุด เพราะมันจะบ่งบอกว่าบริษัทดำเนินธุรกิจแล้วมีเงินสดเหลือหรือไม่

    สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนไม่ควรลืมดู นั่นคือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพราะจะบ่งบอกว่าวิธีการตั้งบัญชีมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง การรับรู้รายได้ขั้นตอนไหนถึงเรียกว่าเป็นรายได้ บางบริษัทบอกว่า “ฉันจะมีรายได้ตั้งแต่เอาหนังสือไปตั้งขาย แต่บางบริษัทบอกไม่ใช่ฉันจะมีรายได้เมื่อขายหนังสือได้แล้ว”

    เขาระบายความในใจสั้นๆ ว่า นักลงทุนสมัยนี้เข้ามาลงทุนแล้วอยาก “รวยเร็ว” อยากได้สูตรสำเร็จให้คนเก่งช่วยกรองให้ว่า หุ้นที่ดีต้องมีค่า P/E เท่าไร ผลตอบแทนต้องเท่าไร ถ้าบริษัทไหนเข้าหลักเกณฑ์ฉันจะซื้อเลย ในความเป็นจริง “มันไม่ใช่” ถามว่าคุณเข้าใจหรือไม่ว่า การคำนวณราคาหุ้นด้วยค่า P/E คืออะไร..ผมเชื่อเลย “ไม่เข้าใจ”

    สมมติหุ้นตัวนี้มีค่า P/E 10 เท่า หมายความว่า กำไร 1 บาท ราคาหุ้น 10 บาท นั่นแปลว่า ซื้อหุ้นแล้วอีก 10 ปีคืนทุน ตกกำไรปีละ 1 บาท แต่บางธุรกิจกำไรมันผันผวนจะให้มีกำไร 1 บาททุกปี มันเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการใช้ค่า P/E คำนวณราคาหุ้นต้องใช้กับบริษัทที่เติบโตสม่ำเสมอ จริงอยู่การเล่นหุ้นด้วยการดูค่า P/E มันใช้ง่าย เพราะมันโชว์อยู่ในหนังสือพิมพ์ทุกวัน แต่มันไม่ใช่สูตรสำเร็จ ไม่อย่างนั้นนักลงทุนคงกำไรกันทั้งโลก

    “ผมอยากให้นักลงทุนต้องศึกษารายละเอียดให้ลึก บางคนถามว่าบริษัทที่ดีควรมีอัตราหนิ้สินต่อทุนเท่าไร มันก็ไม่มีสูตรเหมือนกันขึ้นอยู่กับว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจอะไร แต่ถ้าเป็นบริษัททำธุรกิจปกติทั่วไปหนี้สินต่อทุนควรอยู่ระดับ 2 ต่อ 1 ไม่ควรมากกว่านี้”
    ที่มา bangkokbiznews.com

  2. ผมขอตอบคณ B-Boring บ้างนะครับ
    จากคำถามทั้งหลายของคณ B-Boring ผมเข้าใจว่าคงจะยังไม่เข้าใจหลักในการลงทนแนว
    VI ที่เพื่อนๆส่วนใหญ่ในเวบนี้ยึดเป็นหลักการในการลงทนนะครับ

    ที่คณสนใจการลงทนตามจิตวิทยามวลชนนั้น
    ผมว่ามันเป็นเพียงการเก็งกำไร เป็นเพียงการเดา

    คณหวังเพียงที่จะซื้อห้นแล้วหวังที่จะขายต่อให้คนอื่นโดยไม่สนใจมลค่าที่แท้จริง
    หรือผลตอบแทนที่แท้จริงของการถือกรรมสิทธิ์ห้นนั้นเลย

    ห้นที่คณซื้ออาจจะมีมลค่าต่ำกว่าราคาที่คณซื้อหรือมากกว่าก็ได้ โดยที่คุณไม่รู้
    ที่นี้เวลาเกิดเหตการณ์ที่ไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหน
    (ทั้งรายใหญ่ รายย่อย คนไทย ต่างชาติและกองทนรวมต่างๆ)
    เช่น เหตการณ์ซัดดัมบกคเวต เหตการณ์ 11 ก.ย.
    เหตการณ์โรคระบาด เหตการณ์ปฏิวัติ
    ห้นที่คณถืออย่ก็เปรียบเสมือนกับเศษกระดาษ
    เพราะคณไม่ได้สนใจหรือเข้าใจมลค่าที่แท้จริง
    ของห้นบริษัทนั้นเลย

    แต่ที่ผมลงทน ผมไม่เคยสนใจจิตวิทยามวลชน
    ไม่เคยสนใจว่าคนเล่นห้นตัวไหนกัน หมวดไหนกัน
    และไม่สนใจว่าจะมีคนมาเล่นห้นบริษัทที่ผมลงทนหรือเปล่า

    การที่ผมไม่สนใจว่าจะมีใครมาเล่นห้นบริษัทที่ผมถือก็เพราะว่า
    ผมลงทนเพราะจากมลค่าที่แท้จริงของบริษัทนั้นต่างหาก
    ไม่ได้หวังว่าจะกำไรจากการที่มีใครมาซื้อต่อจากผมหรือไม่

    ผลตอบแทนที่ผมหวังก็ทั้ง เงินปันผล และ Capital Gain ครับ
    บริษัทที่ผมลงทนจะต้องมีราคาต่ำกว่าราคาตามพื้นฐาน
    ที่ผมคำนวณมากพอสมควร ดังนั้นถ้าไม่มีใครสนใจราคาห้นของบริษัทนั้น
    ก็ยังไม่ขึ้นถึงราคาพื้นฐานที่คำนวณไว้
    ผมก็ยังไม่ขาย (นอกจากเห็นบริษัทอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า)
    ผมก็จะถือรับเงินปันผลไปเรื่อยๆ

    แต่ถ้าราคาพุ่งสูงเกินกว่าราคาพื้นฐานแล้ว ผมก็ขายครับ
    ไม่ว่าผมจะถือห้นมานานเพียง 3 วัน 3 เดือน 3 ปี
    หรือแม้อาจจะถึง 30 ปี เพราะผมไม่เคยตั้งความหวังทางด้านเวลาเลย

    และถึงแม้ห้นที่ผมซื้อจะเป็นห้นที่ไม่มีใครร้จัก
    แต่แทบทกตัวก็ให้ผลตอบแทนได้ตามเป้าหมาย
    และถือนานสดก็ 2 ปีเศษๆ (ตัวปัจจบันที่ยังถืออยู่)

    ส่วนการที่คณว่าซื้อห้นพื้นฐานดี แต่ซื้อผิดจังหวะ ซื้อแล้วราคาตก
    ผมก็ไม่เดือดร้อนครับ เพราะผลตอบแทนจากการลงทน
    ของผมก็ไม่ได้ลดลง เนื่องจากสมมติผมคำนวณราคาพื้นฐานไว้ที่ 50 บาท
    รับปันผลปีละ 2.50 บาท ผมซื้อที่ราคา 25 บาท
    นั้นแสดงว่าผมคาดหวังผลตอบแทนที่ 100 %
    ถึงแม้หลังผมซื้อราคาจะลงไปที่ 20 บาท
    ผลตอบแทนผมก็ยังคงเท่าเดิม (โดยไม่คำนึงถึงเรื่องเวลา)
    ถ้าปัจจัยพื้นฐานบริษัทยังเหมือนเดิม

    ส่วนห้นพื้นฐานดีของผมนั้น
    ต้องมีความสามารถที่จะผลิตเงินสดอิสระได้มากพอเมื่อเทียบกับราคาห้น
    พฤติกรรมการใช้เงินของบริษัทในอดีตเหมาะสม
    เป็นธรกิจที่ไม่ต้องการเงินลงทุนมากมายอย่างต่อเนื่องครับ
    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    $$$ การลงทุน เศรษฐกิจ หุ้น และอิสรภาพทางการเงิน | Money $$$
    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

  3. $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    Post subject: บริษัทที่กำไรดี แต่ปันผลเพียงน้อยนิด
    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    บางครั้งเราพบว่าบางบริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานที่ดี
    และคำนวณ EBITDA แล้วก็ยังคงมีจำนวนมาก
    ส่วนผู้ถือหุ้นก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
    แต่บริษัทกลับจ่ายเงินปันผลเพียงน้อยนิด
    และเงินสดสุทธิที่เหลืออยู่ในบริษัทก็ไม่ได้มากมายอะไร

    คำตอบคือบริษัทนำกำไรและเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานไปลงทุนสินทรัพย์ถาวร
    เป็นจำนวนมากและอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัทถึงแม้มีกำไรมากแต่ไม่มีเงินสดเหลือ

    ซึ่งถ้าเป็นการลงทุนแบบขยายกำลังการผลิต
    ก็ยังโอเคในระยะยาวว่าบริษัทจะมีอัตราการเติบโตทั้งด้านยอดขายและกำไร
    แต่บางบริษัทเป็นการลงทุนแบบทดแทนของเก่าซิครับ
    รายได้และกำไรก็ไม่เติบโต

    บริษัทจำพวกนี้ ถ้าเราเป็นเจ้าของ สุดท้ายเราจะได้อะไรจากการลงทุน
    เงินปันผลในแต่ละปีเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับเงินลงทุนที่เราลงไป
    แต่เราจะได้เป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยตลอดเวลานั้นเอง

    เราอยากเป็นเจ้าของบริษัทจำพวกนี้หรือไม่

    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$
    สำหรับผมแล้ว
    เริ่มแรกก็คัดบริษัทที่มีผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นใหญ่ มีชื่อเสียงและพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจออก
    ไม่ว่าธุรกิจจะดีแค่ไหน ราคาหุ้นจะถูกเพียงใด ก็ไม่ควรเสียเวลาไปวิเคราะห์ครับ

    ต่อมาก็ดูธุรกิจ คัดธุรกิจที่เราไม่สามารถเข้าใจ หรือวิเคราะห์ได้ออก
    บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมมากมายในหลายอุตสาหกรรม
    ผมคงตามไปดูไม่ไหว

    แล้วก็มาถึงงบการเงิน เราควรวิเคราะห์ถึงความถูกต้อง
    ยากง่ายของงบการเงิน และที่เน้นมากสุดก็งบกระแสเงินสด
    ซึ่งจะแสดงภาพการดำเนินธุรกิจจริงของบริษัทมากที่สุด

    สุดท้ายก็คำนวณราคาตามปัจจัยพื้นฐาน โดยให้ Sensitivity หลายๆแบบ
    แล้วเปรียบเทียบกับราคาหุ้น
    $$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

  4. การลงทุน เศรษฐกิจ หุ้น และอิสรภาพทางการเงิน
    การลงทุน ทันต่อเศรษฐกิจ พูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุน เศรษฐกิจและตลาดหุ้น เพื่ออิสรภาพทางการเงินของคุณ
    $$$ ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง การลงทุน เศรษฐกิจ หุ้น และอิสรภาพทางการเงิน $$$
    http://www.money.matethai.com/investment/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99

Leave a Reply